การเตรียมรับมือภัยพิบัติ / สิ่งของที่นำติดตัวกรณีฉุกเฉิน
ในกรณีฉุกเฉิน อาจต้องหลบภัยทันที การเตรียมสิ่งของที่จะนำติดตัวไปในกรณีฉุกเฉินใส่ถุงที่สะพายได้ เช่น กระเป๋าเป้ ฯลฯ เอาไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ กระเป๋าสำหรับนำติดตัวกรณีฉุกเฉินควรเน้นสิ่งเหล่านี้ และให้มีน้ำหนักไม่เกิน 15 กก. สำหรับผู้ชายและ 10 กก. สำหรับผู้หญิง
- วิทยุแบบพกพา (อย่าลืมถ่านสำรอง): ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อเกิดภัยพิบัติ
- ไฟฉาย (อย่าลืมถ่านสำรอง) เทียน: จำเป็นต้องใช้เมื่อไฟดับหรือจะทำอะไรตอนกลางคืน
- หมวกนิรภัย (ที่คลุมหัวเพื่อป้องกันภัยพิบัติ): อาจเตรียมได้ลำบาก แต่มีไว้จะปลอดภัยกว่า ช่วยปกป้องศีรษะจากสิ่งของที่ร่วงตกลงมา ฯลฯ เมื่อหลบภัย
- อาหารฉุกเฉิน (สำหรับ 3 วัน): สิ่งที่สามารถรับประทานได้โดยไม่ใช้ไฟ เช่น ขนมปังแห้ง แครกเกอร์ ฯลฯ จะสะดวก
- น้ำดื่ม (สำหรับ 3 วัน): ประมาณ 3 ลิตรต่อคนต่อวัน (3 วันเป็น 9 ลิตร)
- เครื่องนุ่งห่ม (ชุดชั้นใน เสื้อผ้า ถุงเท้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ): มีชุดเครื่องนุ่งห่มแบบพกพา ฯลฯ ด้วย
- อุปกรณ์ดำรงชีพ (ไฟแช็ค ไม้ขีดไฟ ถุงมือ จานกระดาษ แก้วกระดาษ มีด ที่เปิดกระป๋อง ที่เปิดขวด กระดาษทิชชู่ กระดาษเปียก แผ่นพลาสติก ฯลฯ)
- ยาฉุกเฉิน ยาประจำตัว (พลาสเตอร์ ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้ไข้ ยาระบบทางเดินอาหาร ยาแก้หวัด หน้ากากอนามัย ยาหยอดตา ฯลฯ): ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่าลืมยาประจำตัว
- สมุดบัญชีเงินฝาก หนังสือรับรอง ตราประทับ เงินสด: เงินสดให้เตรียมเหรียญ 10 เยน ฯลฯ เอาไว้ด้วย ไม่ใช่เตรียมแค่ธนบัตร
- ใบอนุญาตขับรถ เอกสารยืนยันตัวตน บัตรนักเรียน บัตรประกันสุขภาพ ฯลฯ